การเล่นคอนเสิร์ต นอกจากเครื่องเสียงคอนเสิร์ตที่ดีและมีคุณภาพเพื่อให้เสียงที่ไพเราะแก่ผู้ฟังแล้ว อุปกรณ์สำหรับการฟังเสียงตัวเองของนักดนตรีและนักร้องก็สำคัญมากเช่นกัน ดังนั้นในวันนี้เราจะไปรู้จักกับ In-Ear Monitors และ Stage Monitors ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
In-Ear Monitors (IEM)
หูฟังอินเอียร์เป็นหูฟังขนาดเล็กที่ออกแบบมาให้พอดีกับหูโดยตรง นักดนตรีและนักร้องใช้กันอย่างแพร่หลายในระหว่างการแสดงสด ซึ่งอาจจะมีคัสต้อมโดยเฉพาะสำหรับนักดนตรีแต่ละคนด้วยการพิมพ์หูด้วย โดยนี่คือข้อดีและข้อเสียของ IEM
ข้อดี
- การแยกเสียง : IEM ปิดกั้นเสียงรบกวนรอบข้างได้มากกว่า 80% ช่วยให้ศิลปินได้ยินเสียงมิกซ์ได้อย่างชัดเจนโดยไม่มีการรบกวนจากภายนอก
- ความคล่องตัว : ให้อิสระมากขึ้นในการเคลื่อนที่ไปรอบๆ เวทีโดยไม่สูญเสียคุณภาพเสียง
- คัสต้อมให้เข้ากับแต่ละบุคคน : นักดนตรีแต่ละคนสามารถมีหูฟังส่วนตัวซึ่งถูกปรับและออกแลลให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละคน
จุดพิจารณา
- ความรู้สึกอึดอัด : สามารถทำให้นักร้องและนักดนตรีรู้สึกถูกตัดขาดจากผู้ชมและสมาชิกวงคนอื่นๆเนื่องจากการตัดเสียงรบกวนที่ค่อนข้างเงียบ อาจจะทำให้อึดอัด ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ระบบการรับเสียงรอบข้างเข้ามาภายในหูฟัง
- ความสบาย : IEM รุ่นทั่วไปอาจจะทำให้ไม่สบายหูได้ และหากใช้ในระยะเวลานาน อาจเป็นอันตรายต่อการได้ยินได้ จึงต้องใช้ Custom IEM
- ต้นทุน : IEM คุณภาพสูงอาจมีราคาแพง
Stage Monitors หรือ Wedge Monitors
Stage Monitors คือ ลำโพงที่วางอยู่บนเวที โดยมักจะหันไปทางนักร้องนักดนตรี เป็นรูปแบบที่ดั้งเดิม เรียบง่าย และยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายด้วยข้อดีหลายๆ อย่าง
ข้อดี
- เสียงที่เป็นธรรมชาติ : ให้ประสบการณ์เสียงและบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติมากกว่าแบบหูฟัง
- ใช้งานง่าย : ติดตั้งและใช้งานได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องมีมิกซ์พิเศษ
- ใกล้ชิดกับผู้ชม : นักดนตรีรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้ชมมากขึ้น
จุดพิจารณา
- เสียงสะท้อน : มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดเสียงสะท้อนหากไม่ได้มีการจัดวางหรือออกแบบอย่างเหมาะสม
- ระยะการใช้งานที่จำกัด : ศิลปินต้องอยู่ในระยะที่กำหนดจึงจะได้ยินเสียงจากลำโพงได้อย่างชัดจน
ความแตกต่างของ In-Ear Monitors และ Stage Monitors
การออกแบบและการใช้งาน
- IN-EAR MONITORS : เป็นหูฟังที่สวมเข้ากับหูได้กระชับ เป็นเสียงส่วนบุคคลของนักร้องนักดนตรีแต่ละคนและส่งเสียงเข้าหูโดยตรง
- Stage Monitors : คือ ลำโพงที่วางอยู่บนเวที โดยทั่วไปจะอยู่ด้านหน้านักร้องนักดนตรี โดยหันเสียงเข้าไปภายในเวที
คุณภาพของเสียง
- IN-EAR MONITORS : ให้เสียงที่ชัดเจนแก่นักร้องนักดนตรีโดยตรง โดยปิดกั้นเสียงรบกวนรอบข้างจากเวทีและผู้ชม
- Stage Monitors : ส่งเสียงในลักษณะที่เปิดกว้าง ช่วยให้นักร้องนักดนตรีได้ยินเสียงตัวเองและวงดนตรีชัดเจนมากกว่าการใส่หูฟัง
ความคล่องตัว
- IN-EAR MONITORS : ช่วยให้มีความคล่องตัวมากขึ้น เนื่องจากคุณภาพเสียงไม่เปลี่ยนแปลงตามการเคลื่อนไหวบนเวที
- Stage Monitors : นักร้องนักดนตรีอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดเพื่อฟังเสียงอย่างชัดเจน ทำให้อาจจะไม่คล่องตัวเท่าไหร่นัก เพราะไม่สามารถเคลื่อนไหวไปทั่วเวทีได้
การแยกเสียง
- IN-EAR MONITORS : ให้การแยกเสียงที่ดีเยี่ยม ลดความเสี่ยงของเสียงสะท้อนหรือเสียงก้อง
- Stage Monitors : มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดเสียงสะท้อนและเสียงก้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ขนาดเล็กหรือเวทีที่มีผู้คนหนาแน่น
ความสะดวกสบาย
- IN-EAR MONITORS : การใช้งานเป็นเวลานานหรือระดับเสียงที่ดังอาจทำให้มีปัญหาด้านการได้ยินได้
- Stage Monitors : มีความเสี่ยงน้อยกว่าเนื่องจากไม่ได้เจาะจงส่งเสียงไปที่หูโดยตรง
ต้นทุนและการใช้งาน
- IN-EAR MONITORS : โดยทั่วไปจะมีราคาแพงกว่าและต้องมีการตั้งค่าเฉพาะทางที่ซับซ้อนกว่า
- Stage Monitors : โดยทั่วไปมีราคาถูกกว่าและติดตั้งง่าย โดยมีข้อกำหนดทางเทคนิคที่เรียบง่ายกว่า
สรุป
IN-EAR MONITORS มีเสียงที่เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมขนาดใหญ่หรือมีเสียงดัง ในขณะที่ Stage Monitors ให้ประสบการณ์การฟังที่เป็นธรรมชาติมากกว่า เหมาะสำหรับสถานที่ขนาดเล็กหรือนักร้องนักดนตรีในผับหรือบาร์