จป คือใคร มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร?

by administrator
253 views
3-จปคือใคร-1

การทำงานในสถานประกอบกิจการต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขึ้นได้เสมอ ทั้งอันตรายต่อร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น ต้องมีผู้ที่รับผิดชอบและดูแลเรื่องของความปลอดภัยในสถานประกอบการ ซึ่งก็คือตำแหน่ง จป นั่นเอง จปคืออะไร มีหน้าที่อย่างไรและมีความสำคัญหรือไม่ หากนายจ้างไม่แต่งตั้งให้มี จป จะถือได้ว่ามีความผิดหรือไม่ อย่างไร ทั้งหมดนี้เราหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

จป คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีการแบ่ง จป ออกเป็น 5 ระดับ ด้วยกัน ดังต่อไปนี้

1.เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร

2.เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน

3.เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ

4.เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิคขั้นสูง

5.เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค

จป ในแต่ละระดับ มีหน้าที่การทำงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไปแต่หน้าที่และขอบเขตในการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือ จป ทุกระดับโดยๆ หลักแล้วมีด้วยกันทั้งหมดดังต่อไปนี้

  • จป มีหน้าที่อบรมความปลอดภัยให้กับพนักงานในบริษัท
  • มีหน้าที่ตรวจและประเมินสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงาน ประเมินด้านความปลอดภัยและความเสี่ยงในส่วนต่างๆ
  • นำเสนอแผนและโครงการเรื่องความปลอดภัยและผลกระทบที่ตามมาแบบครบวงจรให้กับนายจ้าง
  • วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงานซึ่งจะต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินอย่างถี่ถ้วนทั้งหมด
  • วิเคราะห์การทำงานและกำหนดมาตรฐานในการทำงาน เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นโดยเสนอต่อผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
  • ตรวจประเมินสถานที่ทำงานทั้งเรื่องของสถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อม
  • พัฒนาความปลอดภัยในหน่วยงานให้มีความปลอดภัยเป็นไปตามกฎหมายและพัฒนาเพื่อให้ได้รับมาตรฐาน
  • เก็บรวบรวมสถิติหรือข้อมูลต่างๆ ส่งให้นายจ้าง ประเมินถึงการวางแผนระบบความปลอดภัยให้แม่นยำและมั่นคงเพื่อลดอัตราการสูญเสีย
  • เมื่อเกิดเหตุอันตรายต่างๆ ในหน่วยงานต้องรีบทำการประเมินและเสนอกับนายจ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ลดความเสี่ยง ลดปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต

ความสำคัญของ จป

จป หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานนั้นถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องแต่งตั้งตามกฎหมาย ซึ่งเป็นกฎกระทรวงเรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานปี พ.ศ. 2549 สถานประกอบกิจการต่างๆ ที่เข้าข่ายตามกฎหมายกำหนดจะต้องมีการแต่งตั้ง จป ในระดับต่างๆ หากนายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมีสิทธิ์ติดคุกได้ นายจ้างที่ไม่จัดให้มีการแต่งตั้ง จป ถือได้ว่ามีความผิดตาม พรบ ความปลอดภัยฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนหรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งหมดนี้ คงไขข้อสงสัยได้แล้วว่า จป คืออะไร มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไรบ้างและความสำคัญของ จป รวมถึงการที่นายจ้างไม่จัดให้มีการแต่งตั้ง จป ตามที่กฎหมายกำหนดจะถือได้ว่ามีความผิดหรือไม่ ในด้านความปลอดภัยไม่ได้เป็นเพียงความรับผิดชอบหรืออยู่ภายใต้การดูแลของ จป เพียงอย่างเดียวแต่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันทั้งองค์กรไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารพนักงานรวมจนถึงพ่อบ้านแม่บ้านต้องมีความเข้าใจในส่วนต่างๆ เป็นอย่างดี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่พนักงานทุกคนก็ควรจะได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานด้วย พนักงานถือเป็นฟันเฟืองอย่างหนึ่งที่ทำให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพในขณะเดียวกันก็มีส่วนร่วมทำให้เกิดความปลอดภัยด้วยเช่นเดียวกัน

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

r43dssoft เว็ปแห่งการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด บริการข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับคุณโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ฟรี เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

@2024 – All Right Reserved. Designed and Developed by r43dssoft.com