แนวทางการตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามประกาศกรมโรงงานอย่างถูกต้อง

by administrator
1.6K views

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามประกาศกรมโรงงานอย่างถูกต้อง

กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 (กรมอุตสาหกรรม) การตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปีถือเป็นกฎหมายที่สถานประกอบการจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดซึ่งหากพูดถึงเรื่องกฎหมายของการตรวจสอบระบบไฟฟ้าแล้วในจะมีอยู่ 2 กระทรวงที่กำออกประกาศกฎหมายในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า คือ

1. กรมโรงงาน

2. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

วันนี้เราจะมาบอกเกี่ยวกับรายละเอียดของการตรวจสอบระบบไฟฟ้ากรมโรงงานว่าจะต้องตรวจสอบอะไรบ้าง

“การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงาน”  หมายความว่า

การตรวจสอบ การทดสอบ การตรวจทดสอบการศึกษาหรือค้นคว้า การวิเคราะห์ การหาข้อมูลหรือสถิติต่างๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์หรือเป็นประโยชน์ประกอบการพิจารณาด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการผลิต การส่งหรือเพื่อส่ง การจ่ายหรือเพื่อจ่าย การใช้หรือการซ่อมระบบไฟฟ้าในโรงงาน การตรวจสอบ วิศวกรดำเนินการตรวจสอบทั่วไป ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ตู้เมนสวิตช์ แผงย่อย บริเวณโดยรอบ สภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ การตรวจวัดวัสดุ อุปกรณ์ และส่วนประกอบต่างๆ ของระบบไฟฟ้าตามประเภทผู้ประกอบกิจการ

ความถี่ในการตรวจสอบ

ทุกๆ 1 ปี จะต้องทำการตรวจสอบโดยวิศวกรไฟฟ้าพร้อมออกรายงานการรับรองเพื่อเป็นหลักฐานและนำไปส่งที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมตามข้อ ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจําทุกปีโดยวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยการตรวจสอบและรับรองดังกล่าวต้องจัดให้มีเอกสารเป็นหลักฐานการจัดให้มีเอกสารตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  • ในกรณีที่มีเหตุอันควร รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานตามวรรคหนึ่งก็ได้
  • การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานที่จัดอยู่ในประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ได้จัดให้มีผู้ตรวจสอบนั้นได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว

Single Line Diagram

  • มี Single Line Diagram
  • (Single Line Diagram) ของเมนสวิตช์
  • เครื่องป้องกันกระแสเกิน
  • สายดินของแผงสวิตช์
  • อุณหภูมิของอุปกรณ์
  • สภาพของจุดสายต่อ
  • การต่อลงดิน

พื้นที่จัดเก็บวัตถุไวไฟ

  • การติดตั้งและใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
  • การจัดเก็บวัตถุไวไฟที่ต้องมีระบบความปลอดภัยพิเศษ
  • ระบบป้องกันฟ้าผ่า

หม้อแปลง

  • การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
  • คาปาซิเตอร์ Capacitor Bank
  • ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ( Power Factor)
  • ปริมาณกระแส
  • การจัดโหลดเพื่อให้เฟสสมดุล (Balanceload)
  • ขนาดสายเมน
  • ระบบเมนสวิตช์
  • สภาพหม้อแปลงภายนอก

ระบบสายดิน

  • ตรวจสอบตู้เมน
  • อุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ
  • สายไฟและสภาพทางเดินสายไฟฟ้า

บทความที่เกี่ยวข้อง

r43dssoft เว็ปแห่งการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด บริการข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับคุณโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ฟรี เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

@2024 – All Right Reserved. Designed and Developed by r43dssoft.com